วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สับปะรดผลไม้แสนอร่อย


ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Ananas comosus  (L.) Merr.   ชื่อสามัญ :   Pineapple     วงศ์ :   Bromeliaceae
ชื่ออื่น :  แนะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ขนุนทอง ยานัด ย่านนัด (ใต้) บ่อนัด (เชียงใหม่) เนะซะ (กะเหรี่ยงตาก) ม้าเนื่อ (เขมร) มะขะนัด มะนัด (เหนือ) หมากเก็ง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) สับปะรด (กรุงเทพฯ) ลิงทอง (เพชรบูรณ์)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุสูง 90-100 ซม. ลำต้นใต้ดิน ปล้องสั้น ไม่แตกกิ่งก้านมีแต่กาบใบห่อหุ้มลำต้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนถี่ ไม่มีก้านใบ ใบเรียวยาว โคนใบเป็นกาบหุ้มลำต้น ปลายแหลม ขอบใบมีหนาม แผ่นใบสีเขียวเข้มและเป็นทางสีแดง ด้านล่างมีนวลแป้งสีขาว ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเรียงอัดกันแน่นรอบแกนช่อดอก ก้านช่อใหญ่แข็งแรง กลีบดอก 3 กลีบ ด้านบนสีชมพูอมม่วง ด้านล่างสีขาว เกสรเพศผู้ 6 อัน เรียบกัน 2 ชั้น ผล เป็นผลรวมรูปรี โคนกว้าง ปลายสอบ มีใบสั้นเป็นกระจุกที่ปลายผล เรียกว่าตะเกียง ผลสุกสีเหลืองสดและฉ่ำน้ำ

ลักษณะของสับปะรด


           รูปลักษณะ ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 90-100 ซม. มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ใบเดี่ยวเรียงสลับ ซ้อนกันถี่มากรอบต้น กว้าง 6.5 ซม. ยาวได้ถึง 1 เมตร ไม่มีก้านใบ ดอกช่อออกจากกลางต้น มีดอกย่อยจำนวนมาก ผลเป็นผลรวม รูปทรงกระบอก มีใบเป็นกระจุกที่ปลาย
สับปะรดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เมื่อเจริญเป็นผลแล้วจะเจริญต่อไปโดยตาที่ลำต้นจะเติบโตเป็นต้นใหม่ได้อีก และสามารถดัดแปลงเป็นไม้ประดับได้อีกด้วย
สับปะรดแบ่งออกตามลักษณะความเป็นอยู่ได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือพวกที่มีระบบรากหาอาหารอยู่ในดิน หรือเรียกว่าไม้ดิน, พวกอาศัยอยู่ตามคาคบไม้หรือลำต้นไม้ใหญ่ ได้แก่ ไม้อากาศต่าง ๆ ที่ไม่แย่งอาหารจากต้นไม้ที่มันเกาะอาศัยอยู่ พวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นไม้ประดับ, และพวกที่เจริญเติบโตบนผาหินหรือโขดหิน
ส่วนสับปะรดที่เราใช้บริโภคจัดเป็นไม้ดิน แต่ยังมีลักษณะบางประการของไม้อากาศเอาไว้ คือ สามารถเก็บน้ำไว้ตามซอกใบได้เล็กน้อยมีเซลล์พิเศษสำหรับเก็บน้ำเอาไว้ในใบ ทำให้ทนทานในช่วงแล้งได้
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
  สับปะรดต้องการอากาศค่อนข้างร้อนอุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 23.9-29.4 ปริมาณน้ำฝนที่ต้องการอยู่ในช่วง 1,000-1,500 มิลลิเมตรต่อปี แต่ต้องตกกระจายสม่ำเสมอตลอดปี และมีความชื้นในอากาศสูง
สับปะรดชอบขึ้นในดินร่วน,ดินร่วนปนทราย,ดินปนลูกรัง,ดินทรายชายทะเล และชอบที่ลาดเท เช่น ที่ลาดเชิงเขา สภาพความเป็นกรดด่าง (pH) ของดินควรเป็นกรดเล็กน้อย คือตั้งแต่ 4.5-5.5 แต่ไม่เกิน 6.0
ฤดูกาลของสับปะรด
ช่วงเก็บเกี่ยวในฤดู ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - มกราคม และกลางเดือนเมษายน - กรกฎาคม สับปะรดจะให้ผลผลิตมาก ในตลาดมีราคาถูก   ช่วงเก็บเกี่ยวนอกฤดู ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ต้นเดือนเมษายน และเดือนสิงหาคม - ตุลาคม สับปะรดจะให้ผลผลิตน้อย ราคา
   คุณค่าทางอาหาร   
สับปะรดเป็นพืชที่มีคุณค่าทางอาหารสูงเนื่องมาจากมีปริมาณของวิตามิน เกลือแร่  และเส้นใยไฟเบอร์ที่มีอยู่มากมายในผลสับปะรด นอกจากนี้แล้ว สับปะรดยังมีสรรพคุณในทางยามากมายหลายอย่าง อาทิเช่น การช่วยย่อยอาหาร เสริมสร้างการดูดซึมอาหารของร่างกาย การลดความร้อนของร่างกาย นอกจากนี้แล้วยังได้มีการศีกษาวิจัยจนกระทั่งพบว่าผู้ที่รับประทานสับปะรดเป็นประจำแล้ว ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไตอักเสบและ
โรคความดันสูงอีกด้วย นอกจากนี้ยังช่วยลดอาการบวมน้ำของร่างกาย ช่วยในการขับปัสสาวะ ช่วยลดความร้อนของ
ร่างกาย และช่วยลดอาการกระสับกระส่ายได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
 คุณค่าทางโภชนาการของสับปะรดหวานหนัก 100 กรัม

พลังงาน
(Energy)
54
แคลอรี
ไขมัน
(Fat)
0.3
กรัม
คาร์โบไฮเดรต
(Carbohydrate)
14
กรัม
เส้นใย
(Fiber)
0.5
กรัม
โปรตีน
(Protein)
0.4
กรัม
แคลเซียม
(Calcium)
22
มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส
(Phosphorus)
8
มิลลิกรัม
เหล็ก
(Iron)
0.4
มิลลิกรัม
ไนอาซิน
(Niacin)
0.2
มิลลิกรัม
วิตามินเอ
(Vitamin A)
15
หน่วยสากล
วิตามินบี 1
(Vitamin B1)
0.09
มิลลิกรัม
วิตามินบี 2
(Vitamin B2)
0.04
มิลลิกรัม
วิตามินซี
(Vitamin C)
1
มิลลิกรัม



<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->

<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น